วันอาทิตย์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2553

oop

แนวคิดเชิงวัตถุ (Object-Oriented Concept)

แนวคิดเชิงวัตถุ (Object-Oriented) มุ่งเน้นสิ่งต่างๆ ที่ใกล้เคียงกับโลกแห่งความจริงใน
ลักษณะรูปธรรม โดยจะมองระบบเป็นกลุ่มของวัตถุ (Object) ที่มีปฎิกริยาต่อกันด้วยการนำข้อมูลและฟังก์ชันการทำงานรวมเข้าด้วยกันในวัตถุ ทำให้ข้อมูลที่เป็นวัตถุนั้นสามารถอธิบายคุณสมบัติ รวมทั้งฟังก์ชันการทำงานในตัวเองได้ ส่วนวิธีการติดต่อกันระหว่างวัตถุจะทำการติดต่อผ่านอินเทอร์เฟซ (Interface) ที่กำหนดไว้ ซึ่งแตกต่างกับแนวความคิดแบบดั้งเดิมที่ข้อมูลจะแยกออกจากฟังก์ชัน จึงทำให้ไม่สามารถอธิบายคุณสมบัติของตัวเองได้ โลกแห่งวัตถุคือ สิ่งที่เราเผชิญอยู่ในโลกแห่งความจริงในชีวิตประจำวัน สิ่งที่เราเห็นก่อให้เกิดรายละเอียดต่างๆ มากมายในวัตถุสิ่งๆนั้น ซึ่งเรียกว่า Abstraction
เอกสารฉบับนี้จัดทำโดย Google Docs แล้วโพสต์ลงบล็อคอีกที..

วันพุธที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

web 1.0 กับ web 2.0

Web 1.0 (1991-2003) เป็นการใช้งานอินเทอร์เน็ตในระยะแรก เป็นการใช้ข้อมูลด้านเดียว เว็บ 1 เว็บจะมีผู้จัดทำเนื้อหา 1 คนคือ web master หรือผู้สร้างเว็บ เป็นผู้ให้ข้อมูล และ ผู้เข้าชมเว็บเป็นผู้รับข้อมูล/ผู้ชม ผู้ชมกับเจ้าของเว็บติดต่อสื่อสารในลักษณะของการสื่อสารทางเดียว ผู้เข้าชมเว็บจะรู้จักแค่การรับ-ส่งอีเมล์ (E-Mail), เข้าแชตรูม (Chat Room), ดาวน์โหลดภาพและเสียง หรือไม่ก็ใช้ Search Engine เพื่อหาข้อมูลหรือรายงาน รวมทั้งการใช้ Web board เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การทำหน้าเว็บแบบ Dynamic/Interactive เป็นได้ยาก เนื่องจากมีความเร็วในการเชื่อมต่ออินเน็ตค่อนข้างต่ำ ความเร็วเฉลี่ยอยู่ที่ 50 kbps จากการ Dial-up จึงทำให้การสร้างเว็บไซต์เน้นไปในเรื่องของความเร็ว เช่น ใช้ภาษา html หรือมีรูปภาพประกอบขนาดเล็กแบบ gif/jpeg

ส่วน web 2.0 (2004-ปัจจุบัน) อินเทอร์เน็ตมีความเร็วสูงขึ้น ความเร็วเฉลี่ย 1 Mbps พฤติกรรมของผู้สร้างและผู้ใช้เว็บเปลี่ยนไป มีกลุ่มคนใช้งานอินเทอร์เน็ตมากขึ้น มีการสื่อสารกับกลุ่มคนหลากหลายมากยิ่งขึ้น โดยผ่านระบบเครือข่ายทั่วโลก มีความจุในการเก็บข้อมูลเพิ่มมากขึ้น การสื่อสารมีลักษณะสองทาง (two-way communication) เป็นสังคมแห่งการแบ่งปัน หรือ สังคมเครือข่าย (Social Network) ซึ่งสรุปได้ว่า Web 2.0 เป็นระยะที่สองของสถาปัตยกรรม และการพัฒนาเว็บแอปพลิเคชัน หรืออาจกล่าวได้ว่า เป็นยุคที่สองของให้บริการบนอินเทอร์เน็ต หลังจาก Web 1.0 เริ่มเสื่อมความนิยมลง Web ในยุคที่ 2 นี้จะให้ความสำคัญกับผู้เข้าชมเว็บไซต์ โดยผู้ที่เข้าไปใช้งานนั้นจะมีส่วนร่วมกับเว็บนั้น ๆ มากขึ้น และไม่ใช่แค่เพียงแวะเข้ามาเยี่ยมชม หรืออ่านอย่างเดียว แต่ยังมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์ (Co-Creation) ให้กับเว็บไซต์แห่งนั้นอีกด้วย การเกิดขึ้นของ Web 2.0 ได้ทำให้รูปแบบการนำเสนอข้อมูลบนเว็บไซต์ต่าง ๆ ได้เปลี่ยนแปลงไป เกิดเว็บไซต์ที่ให้ผู้ใช้งานเข้ามามีส่วนร่วมเป็นจำนวนมาก ตัวอย่างเช่น

- Wikipedia สารานุกรมออนไลน์ สามารถต่อยอดข้อมูลต่างๆออกไปได้ไม่จำกัด และข้อมูลจะถูกตรวจสอบคัดกรองอยู่ตลอด ใครก็สามารถเขียนในสิ่งที่ตนรู้ลงไปได้
- Weblog Wordpress.com Blogger.com หรือของไทยที่ Bloggang.com ซึ่งเป็นการแชร์สิ่งที่ตัวเองมี และเขียนโพสท์ลงบน Blog
- Podcast จัดรายการวิทยุหรือโทรทัศน์ของตัวเองได้เลย ได้รับความนิยมมากขึ้นจากยอดขายเครื่องเล่น mp3 แบบพกพาที่มากขึ้น
- Media Sharing Youtube.com, Flickr.com
- Social Network Hi5, Twitter
- อื่น ๆ เช่น Sourceforge.org , Google Maps , Google Earth เป็นต้น

วันอังคารที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

นวัตกรรม

คำว่า นวัตกรรม หมายถึงการทำสิ่งต่างๆด้วยวิธีใหม่ๆ และยังอาจหมายถึงการเปลี่ยนแปลงทางความคิด การผลิต กระบวนการ หรือองค์กร ไม่ว่าการเปลี่ยนนั้นจะเกิดขึ้นจากการปฏิวัติ การเปลี่ยนอย่างถอนรากถอนโคน หรือการพัฒนาต่อยอด ทั้งนี้ มักมีการแยกแยะความแตกต่างอย่างชัดเจน ระหว่างการประดิษฐ์คิดค้น ความคิดริเริ่ม และนวัตกรรม อันหมายถึงความคิดริเริ่มที่นำมาประยุกต์ใช้อย่างสัมฤทธิ์ผล (Mckeown, 2008) และในหลายสาขา เชื่อกันว่าการที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งจะเป็นนวัตกรรมได้นั้น จะต้องมีความแปลกใหม่อย่างเห็นได้ชัด และไม่เป็นแค่เพียงการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ เป็นต้นว่า ในด้านศิลปะ เศรษฐศาสตร์ เศรษฐกิจ และนโยบายของรัฐ ในเชิงเศรษฐศาสตร์นั้น การเปลี่ยนแปลงนั้นจะต้องเพิ่มมูลค่า มูลค่าของลูกค้า หรือมูลค่าของผู้ผลิต เป้าหมายของนวัตกรรมคือการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก เพื่อทำให้สิ่งต่างๆเกิดเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น นวัตกรรมก่อให้ได้ผลิตผลเพิ่มขึ้น และเป็นที่มาสำคัญของความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ

นวัตกรรมเป็นหัวข้อหลักในการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์ และวิศวกรรม และหากพูดกันแบบภาษาชาวบ้านแล้ว คำว่า 'นวัตกรรม' มักจะหมายถึงผลลัพธ์ของกระบวนการ และในฐานะที่นวัตกรรมมักจะได้รับการยกย่องว่าเป็นกลไกสำคัญในการผลักดัน เศรษฐกิจ ปัจจัยที่นำไปสู่นวัตกรรม มักได้รับความสำคัญจากผู้ออกนโยบายว่าเป็นเรื่องวิกฤติ

ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงในการนำนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ในสาขาใดสาขา หนึ่ง มักจะเรียกว่าเป็นผู้บุกเบิกในสาขานั้น ไม่ว่าจะเป็นในนามบุคคล หรือองค์กร

ที่มา วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี